การประชุมป่าไม้ระดับโลกครั้งที่14

ตัวแทนจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และผู้นำด้านป่าไม้จากทั่วโลก ตบเท้าเข้าร่วมงานประชุมป่าไม้โลกครั้งที่ 14 ที่เมืองเดอร์บัน สาธารณรัฐแอฟริกาใต้โดยมุ่งหวังจัดสรรและกำหนดนโยบายป่าไม้โลกให้เท่าเทียมกัน

7 กันยายน 2558

การประชุมป่าไม้ระดับโลกครั้งที่14 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 กันยายน 2558 ณ เมืองเดอร์บัน สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง มีตัวแทนจากภาครัฐ ผู้นำด้านป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชนจากหลายประเทศทั่วโลกกว่าสี่พันคนยืนยันเข้าร่วม โดยตระหนักถึงประเด็นหลักที่ว่า “การลงทุนส่งเสริมด้านป่าไม้เป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” 

การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมระดับโลกใหญ่ที่สุด ซึ่งจัดขึ้นทุก 6 ปี โดยมีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ จะเข้าร่วมประชุมเพื่อถกถึงปัญหาสำคัญต่างๆ เช่น ศักยภาพในการจัดการป่าไม้ด้วยตนเองเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของคนท้องถิ่นให้ดีขึ้น ปัญหาโลกร้อน และนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านป่าไม้ อีกทั้งยังเป็นเวทีพูดคุยสำคัญสำหรับผู้นำภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญด้านป่าไม้ระดับสูงกว่า 20 คน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับอนาคตด้านป่าไม้โลก และมุ่งรณรงค์ให้มีการลงทุนส่งเสริมด้านป่าไม้ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญของการดำเนินงานสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals: SDGs ต่อไป

 

                     

               ผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่เข้าร่วมในครั้งนี้ โดยประเทศไทยมีผู้แทนคือ นายเกรียงไกร ชีช่วง (ซ้ายสุด) และนายเกริก มีมุ่งกิจ (ขวาสุด)

 

การประชุมนี้เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปแอฟริกาโดยเลือกจัดขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างประเทศในปี พ.ศ.2505ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้  โดยจะมีการกล่าวปาฐกถาและแสดงวิสัยทัศน์ในประเด็นการจัดการธรณีในทวีปแอฟริกาจาก CycrilRamaposa, ผู้แทนประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เจ้าชายลอร์เรน มกุฏราชกุมารแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม ทูตพิเศษจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติและ NkosazanaDlamini-Zuma ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพแอฟริกา อีกทั้งยังร่วมกันเป็นสักขีพยานในการเปิดงานประชุมเวทีป่าไม้โลกครั้งนี้ด้วย

อีกทั้ง ยังมีเวทีแถลงผลรายงาน “การประเมินสถานการณ์ทรัพยากรด้านป่าไม้โลกในรอบ 25 ปีเพื่อหาข้อมูลสำคัญที่นำไปสู่การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน”โดย Jose Graziano Da Silva ผู้อำนวยการจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ

ผลของการประชุมป่าไม้โลกครั้งนี้มุ่งหวังให้ประชาคมโลกร่วมกันกำหนดอนาคตป่าไม้และวิสัยทัศน์ปี2593ด้านการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นแนวทางเพื่อนำไปสู่เวทีการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC COP21) ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงปารีสในเดือนธันวาคมนี้ 

ดร.ทินท์ ลวิน ทอง ผู้อำนวยการศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (รีคอฟ) เปิดเผยข้อมูลและแนวคิดที่น่าสนใจว่า " รีคอฟมาร่วมงานประชุมเวทีป่าไม้โลกครั้งนี้ เพื่อเน้นย้ำให้ทุกเสียงและข้อเสนอแนะจากประสบการณ์ของตัวแทนท้องถิ่นนั้นได้รับการรับฟังและพิจารณาจากผู้นำที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านป่าไม้ระดับโลก ขณะที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับข้องกับป่าไม้เห็นพ้องกับแนวทางการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และมีความพยายามที่จะแลกเปลี่ยนหาบทสรุปว่า เราจะเดินไปทิศทางไหนซึ่งเราเองต้องตระหนักถึงผู้คนที่มีฐานะยากจนอีกกว่า 350 ล้านคนจากทั่วโลกที่ต้องพึ่งพาและฝากชีวิตไว้กับผืนป่า และผู้คนส่วนใหญ่กว่า 1.6 พันล้านคนต้องพึ่งพาพวกเขาอีกทอดหนึ่งซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้ไม่สามารถปฏิเสธได้ คนที่อาศัยอยู่กับป่านั้นถือว่ามีความรู้ด้านการจัดการป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะองค์ความรู้และประสบการณ์เกิดจากสิ่งที่พบเจอและบทเรียนที่สั่งสมจากรุ่นต่อรุ่น ซึ่งความรู้นี้มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้จริง ดังนั้นคนส่วนใหญ่ที่มีศักยภาพเพียงพอและพึ่งพิงผืนป่าอีกทั้งบางคนยังเป็นผู้นำและกำหนดนโยบายนั้นถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยกัน และลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ"

และครั้งนี้นับเป็นโอกาสและพื้นที่สำคัญยิ่งสำหรับการมีส่วนร่วมจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยทางศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) และองค์กรร่วมจัดได้คัดเลือกตัวแทนผู้เข้าร่วม 6คน (เมียนมาร์, กัมพูชา, เวียดนามและไทย) จากท้องถิ่นและชุมชนด้านป่าไม้ กลุ่มเกษตรรายย่อยสมาชิกป่าชุมชนและกลุ่มชาติพันธุ์ในงานประชุมเตรียมความพร้อมระดับภูมิภาคที่กรุงเทพฯ ในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ให้ออกเดินทางไปพร้อมกับเจ้าหน้าที่รีคอฟอีกจำนวน 7 คน ซึ่งทั้งหมดจะเป็นตัวแทนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมกันออกเสียงแสดงความคิดเห็นเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 25 เวทีย่อย รวมถึงเป็นตัวแทนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมกันจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “I am the Forest” ในวันที่ 8 กันยายนนี้ ณ ห้อง 11 CDE เวลา 19.30 น. (ศูนย์ประชุมนานาชาติเมืองเดอร์บัน สาธารณรัฐแอฟริกาใต้) ซึ่งถือเป็นเวทีจากตัวแทนชาวบ้านท้องถิ่นที่จะสะท้อนเสียงความต้องการจากชุมชนท้องถิ่นภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างแท้จริงซึ่งแต่ละประเทศกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายในประเด็นต่างๆ เพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะในการสร้างความตระหนักรู้ว่าการจัดการดูแลป่าไม้อย่างยั่งยืนนั้นควรเกิดจากระดับท้องถิ่นชุมชนอย่างแท้จริง

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กำหนดการการประชุมป่าไม้โลกและเวทีเสวนา “ I am the Forest”   สามารถดูได้ที่ http://www.recoftc.org/events/recoftc-wfc2015

หรือหากสื่อมวลชนสนใจสัมภาษณ์ตัวแทนชาวบ้านท้องถิ่นจากเวทีป่าไม้โลก http://us1.campaign-archive1.com/?u=a79eee76ce1869204bc04a12d&id=a0116ae1cd  สามารถติดต่อนัดหมายและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

กรุงเทพฯ สุชารัตน์ สถาพรอานนท์ (ภาษาไทย), sucharat.sathapornanon@recoftc.org,โทรศัพท์ +66 (0) 80 897 2125
In Bangkok, Mr. Jephraim Oro, Communication Officer, RECOFTC, +66 (0)80 897 2125 jephraim.oro@recoftc.org (English)

In Durban: Ms. Caroline Liou, Communication Manager, RECOFTC, mobile +66 (0)86 067 3228  caroline.liou@recoftc.org (English)

 

ข้อมูลเพิ่มเติม
เวทีป่าไม้โลกครั้งที่ 14,www.fao.org/about/meetings/world-forestry-congress/en/ and www.wfc2015.org.za/
ประเทศต่างๆ ในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกมีการพัฒนาประเทศให้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากมายต่อป่าไม้และคนในท้องถิ่นชนบท   ทำให้ความต้องการของการใช้ประโยชน์และผลิตภัณฑ์จากป่าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าไปตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ เช่น สวนปาล์ม สวนยาง รวมทั้งการทำเหมือง และทำโครงการพลังงานน้ำต่างๆ  ซึ่งการถางป่าและเผาอย่างไม่หยุดยั้ง จนเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกนับล้านๆ ตัน  ในขณะที่ยังมีคนชนบทในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกมากกว่า 450 ล้านคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับป่าและยังคงมีวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพิงป่า รวมทั้งการใช้ประโยชน์และใช้ผลผลิตจากป่าเช่นเดียวกัน, จากข้อมูล กรณีศึกษาและรายงานจาก www.recoftc.org