RECOFTC Thailand
Events

วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ลุ่มน้ำอิง ( Ing Wetland Day ), Wetland We care ส่งต่อความห่วงใย ให้ลุ่มน้ำอิง

Feb 01
2019
Location
ณ ป่าชุ่มน้ำบ้านงามเมือง อ.ขุนตาล จ.เชียงราย
ING Project

ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย และหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อการจัดการลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน  สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง โฮงเฮียนแม่น้ำของ สภาประชาชนลุ่มน้ำอิงและชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนล่างและบ้านงามเมือง ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความความเข้าใจ “วันพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิง หรือ งาน Ing Wetland day, Wetland We Care” และลงนามกรอบ ปฏิญญาลุ่มน้ำอิง”การจัดการลุ่มน้ำอิงกับการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อประกาศเจตนารมณ์และส่งมอบความห่วงใยต่อพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิง อีกทั้งยังร่วมแสดงพลังให้มีการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองภายใต้เงื่อนไขของอนุสัญญาแรมซ่าร์[1]

ป่าริมน้ำอิง หรือ ป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิง  มีความเป็นเอกลักษณ์นิเวศป่าชุ่มน้ำหนึ่งเดียวในภาคเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่ 4.5 ล้านไร่ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทั้งดิน น้ำ ป่า ที่รวมเป็นลุ่มน้ำอิงตลอดความยาว 260 กิโลเมตรที่ไหลผ่านจังหวัดพะเยาและเชียงรายไหลลงสู่แม่น้ำโขง  และเชื่อมโยงเป็นระบบนิเวศผืนเดียวกันกับแม่น้ำโขง  ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามของโครงการฯ อนุรักษ์แม่น้ำอิงร่วมกับสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ระบุว่าพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงที่เหลืออยู่ 17 แปลง เนื้อที่ 8,950 ไร่ จากการสุ่มตัวอย่างสำรวจความหลากหลายในบางแปลงพบว่า มีความหนาแน่นและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงพันธุ์สัตว์น้ำ ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์ป่า นก สามารถนำเสนอขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ หรืออนุสัญญาแรมซ่า

ING Project

ภาคีอนุรักษ์แม่น้ำอิง โครงการอนุรักษ์แม่น้ำอิงและสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง ชาวบ้าน และภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ ร่วมกันดำเนินโครงการด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูฐานทรัพยากรในลุ่มน้ำอิงหลายทศวรรษที่ผ่านมา จึงเกิดเป็นกลไกความร่วมมือทั้งภาคประชาสังคม ภาครัฐ และเครือข่ายชุมชนได้ร่วมมือกันในการทำงานร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ได้สร้างรูปธรรมในการอนุรักษ์ในหมู่บ้านของตัวเอง และมีความพยายามที่จะมีส่วนร่วมในทางนโยบายกับภาครัฐ ถือเป็นภารกิจสำคัญในยุคที่ทรัพยากรธรรมชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤตเกิดพื้นที่รูปธรรมในการจัดการฐานทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า และการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศลุ่มน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ เพื่อเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

กำหนดการ

วันที่ 31 มกราคม 2562

15.00 น.                 คณะทำงานและชาวบ้านเดินทางถึงบ้านบุญเรือง (เตรียมงาน) และจัดนิทรรศการ วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก

18.00 น.                 ประชุมเตรียมงาน และเดินทางไปพักที่โรงแรม อ.เชียงของ

 

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562              

07.00-08.00          ออกเดินทางออกจากที่พัก-ป่าชุ่มน้ำบ้านงามเมือง

8.30-9.00 น.          ลงทะเบียน/รับเอกสาร

9.00-9.30 น.         กล่าวต้อนรับ โดย ประธานสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงชี้แจงวัตถุประสงค์และแนะนำชาวบ้านหน่วยงานที่เข้าร่วมงาน โดย  นายไกรทอง   เหง้าน้อย  โครงการอนุรักษ์แม่น้ำอิง

  • กล่าวเปิดกิจกรรม โดย นายอำเภอขุนตาล
  • กล่าวรายงานโดย สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง
  • ทำพิธีเปิด “โฮงเฮียนแม่น้ำอิง ”ศูนย์เรียนรู้ลุ่มน้ำอิงบ้านงามเมือง
  • ลงนามกรอบ ปฏิญญาลุ่มน้ำอิง”การจัดการลุ่มน้ำอิงกับการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

10.30-11.30 น. ฟ้อนต้อนรับ ”วิถีคนลุ่มน้ำอิง “ โดยนักเรียนบ้านต้นปล้องแดนเมืองงามเมือง

กิจกรรม ที่ 1 “ประกวดวาดภาพ เด็กนักเรียน”  คุณค่าจากป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิง”

กิจกรรม ที่ 2 กลุ่มศิลปินวาดภาพความสมบูรณ์ของป่าชุ่มน้ำและจัดแสดงนิทรรศการศิลปะโดยเครือข่ายศิลปิน                                    จากขัวศิลปะ เชียงราย

กิจกรรม ที่ 3 แม่หญิงลุ่มน้ำอิง “ แข่งขันทำอาหารจากทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิง”

กิจกรรม ที่ 4 ล้อมวงคุย ชุ่มน้ำเสวนา   “พื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิงกับการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ” ดำเนินรายการโดย ระวี  ถาวร   ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า(RECOFTC) และมีตัวแทนเข้าร่วมเสวนาดังต่อไปนี้

  • ดร.อภิสม อินทรลาวัณย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ จังหวัดเชียงราย
  • นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
  • นายเตชภัฒน์ มะโนวงศ์ เลขานุการสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง
  • ดร.ศรีวรรณ  ไชยสุข  ผอ.สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพ ม.ราชภัฏเชียงราย
  • ปลัดเทศบาลตำบลครึ่ง
  • นายสมหมาย อุตมะ ตัวแทนกรรมการป่าชุ่มน้ำบ้านงามเมือง
  • ทศจ. เชียงราย
  • ตัวแทน สผ.
  • นิวัฒน์  ร้อยแก้ว
  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่1                           

Ø คณะทำงาน สรุปการขับเคลื่อน การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิง และแผนงานการดำเนินงานสู่การขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิง โดย โครงการอนุรักษ์แม่น้ำอิงและสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

Ø อ่านคำประกาศปฏิญญาพื้นที่ชุ่มน้ำ  ข้อเสนอของชาวบ้านลุ่มน้ำอิงต่อการจัดการ การใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน เนื่องในวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก โดยตัวแทนสภาประชาชนลุ่มน้ำอิงและเครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำอิงตอนล่าง

11.30 -12.00 น.      กิจกรรม ที่ 1 กรรมการตัดสินการประกวด วาดภาพ และ อาหารจากพื้นที่ชุ่มน้ำ

                            กิจกรรม ที่ 2 นมัสการ อวยพรป่าชุ่มน้ำ

12.00-13.00 น.       รับประทานอาหาร                

13.00-13.30 น.       มอบรางวัล การวาดรูปของเด็ก และอาหารแม่หญิง

13.30-14.30 น.       แม่หญิง ชวนคุย “แม่หญิงลุ่มน้ำอิง กับการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชุ่มน้ำ “ โดย เครือข่ายแม่หญิงลุ่มน้ำอิง

14.30-15.00 น.       ดนตรีเพื่อป่าชุ่มน้ำ โดย วงหลืบผาและผองเพื่อน, แข่งขัน เซียนหว่านแห ลุ่มน้ำอิง และ แข่งขัน พายเรือ

    

[1] วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี  เนื่องจากนานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง  “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศโดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่ของนกน้ำ”  ขึ้น ณ เมือง Ramsar ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาเป็นรู้จักในนามอนุสัญญาแรมซาร์   โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ.ศ. 2518 ตามเงื่อนไขอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคี ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 ซึ่งพันธกรณีของอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2541 เป็นต้นมา