RECOFTC Thailand
ING WATERSHED

ชาวบ้านและเครือข่ายร่วมลุ่มน้ำอิง จ. เชียงราย จัดกิจกรรมวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลกเพื่อผลักดันป่าลุ่มน้าอิง 8 พันไร่ขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติแรมซ่าร์ไซท์

ผลักดันป่าลุ่มน้ำอิงขึ้นทะเบียนแรมซ่าไซท์ หวั่นถูกรุกราน ชาวบ้าน-เครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ทางผวจ.เชียงรายรับลูกตั้งกก.พิจารณาเสนอครม.
ING Wetland Day

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า(รีคอฟ) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่าย สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง ชาวบ้าน ภาคประชาสังคมในลุ่มน้ำอิง และภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความความเข้าใจ “วันพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิง หรือ งาน Ing Wetland day, Wetland We Care” และลงนามกรอบ ปฏิญญาลุ่มน้ำอิง”การจัดการลุ่มน้ำอิงกับการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานดังกล่าว ลงนามปฏิญญาร่วมกัน(สามารถดูรายละเอียดปฏิญญาจากเอกสารแนบ) อีกทั้งทางจังหวัดเชียงรายได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำเชียงราย และคณะทำงานพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดเชียงรายเพื่อผลักดันให้พื้นที่ชุ่มน้ำอิงที่เหลือเพียงที่เดียวของภาคเหนือได้มีการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองภายใต้เงื่อนไขขออนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติแรมซาร์ไซท์

ING Wetland Day

ปัญหาใหญ่ของประเทศไทยคือเรื่องการจัดการน้ำ ทั้งน้ำท่วมน้ำแล้งซึ่งทุกรัฐบาลต่างเผชิญปัญหา ที่ผ่านมาพื้นที่ชุ่มน้ำถูกกระทำอย่างหนักเพราะไม่มีภูมิคุ้มกัน แม้เป็นพื้นที่สาธารณะแล้วก็ยังถูกเอาไปเปลี่ยนสภาพเป็นอย่างอื่น ทั้งๆที่เป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์มหาศาล เป็นนิเวศเศรษฐศาสตร์ หากรัฐบาลไม่เข้าใจและออกนโยบายพัฒนาพื้นที่แบบนี้ก็จะเกิดปัญหา ส่วนที่สำคัญที่สุดคือภาคประชาสังคมเพราะสามารถเปลี่ยนกระบวนทัศน์ได้ เช่นเดียวกับการขับเคลื่อนพื้นที่ลุ่มน้ำนั้น ส่วนท้องถิ่นสำคัญนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ หนึ่งในเครือข่ายโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายลุ่มน้ำอิง กล่าว

งานครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากนายวุฒิกร คำมา นายอำเภอ อ.ขุนตาลเข้าร่วมและเปิดงานฯ ได้กล่าวว่า “น่าชื่นชมชาวบ้านที่ร่วมกันอนุรักษ์และผลักดันซึ่งดีกว่าภาคราชการทำ เพราะไม่มีใครรู้ดีเท่ากับคนที่นี่ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐนั้น การพัฒนาย่อมเกิดขึ้น แต่ทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านดีขึ้น เราจึงมีกระบวนการประชาคมคือให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม ขณะที่ภาคราชการเองก็ต้องปรับเปลี่ยนด้วย การผลักดันให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเชื่อว่าไม่มีภาคราชการคัดค้าน

ING Wetland Day

ภายในงานได้มีนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับลุ่มน้ำอิง กิจกรรมการประกวดภาพวาดเด็กนักเรียน การแข่งขันทำอาหารจากทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำอิงจากกลุ่มแม่หญิงลุ่มน้ำอิง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 150 คนจาก 21 ชุมชน รวมทั้ง วงเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “พื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิงกับการขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ” สรุปการขับเคลื่อน และแผนงานสู่การขึ้นทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงจากนักวิจัย นักพัฒนา ผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น

เนื่องจากวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก พื้นที่ชุ่มน้ำไม่ได้มีความสำคัญเพียงแค่ต่อชาวบ้านเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในระดับประเทศและระดับโลก สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำกว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์พืชและสัตว์ที่สำคัญต่อทางนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงเกิดงานวันนี้ขึ้น ซึ่งประกอบด้วยหลายภาคส่วนทั้งชาวบ้าน ส่วนราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ และสื่อสารมวลชน ด้วยตระหนักถึงความสำคัญอย่างยิ่งของพื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิง จ.เชียงราย

 

ขอขอบคุณสื่อมวลชนที่ให้ความสนใจและอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่


https://www.matichon.co.th/local/news_1345225 
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/906091 
http://transbordernews.in.th/home/?p=20006 
https://prachatai.com/journal/2019/02/80850 
https://siamrath.co.th/n/63801 
https://www.naewna.com/local/392733 

https://www.citizenthaipbs.net/node/25370
https://phayaotv.com/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%87-8-%E0%B8%9E/ 
และ พะเยาทีวี ทีวีชุมชนพะเยา-เชียงราย ถ่ายทอดสดตลอดงาน https://www.facebook.com/phayaotv/videos/776309862744215/