RECOFTC ประเทศไทย
ข่าวแจก

ชุมชนเมืองกับขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นในการส่งเสริมสนับสนุนป่าไม้

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่กำลังมีการขยายตัวออกไปรอบนอกอย่างต่อเนื่อง ได้วางตัวเองเป็นเมืองศูนย์กลางการอยู่อาศัยหลักแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภูมิภาคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางความเจริญด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา  ถนนหลายสายในป่าเมืองเป็นที่อยู่ของผู้คนมากมาย ผู้ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาและการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน หรือ “ประชาชนเมือง”

แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่ผู้คนในเมืองไม่สังเกตเห็นความเชื่อมโยงดังกล่าว

“ทุกสิ่งทุกอย่างแสดงถึงความมีพลัง ท่ามกลางชีวิตเมืองอันเต็มไปด้วยความเร่งรีบและคึกคัก ที่ผู้คนบางครั้งก็ไม่ได้ชื่นชมเห็นคุณค่าในบทบาทของต้นไม้และสิ่งที่พวกเขาได้ทำให้กับเรา” นาย ญาณ โจเซฟ ดิดา เยาวชนผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศฟิลิปปินส์ ได้แสดงความคิดเห็นไว้

สุดสัปดาห์นี้ ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า – รีคอฟ ได้นำจุดต่างๆมาเชื่อมต่อกันโดยการเป็นเจ้าภาพงาน “ป่าไม้คือเรา: ทำไมป่าไม้จึงสำคัญ” งานประชุมอภิปรายระดับภูมิภาคที่ได้นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนจากพื้นที่เขตเมืองและพื้นที่ครอบคลุมด้วยป่าไม้มาร่วมเสวนา

“เมื่อชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อมได้มีโอกาสทำงานในประเด็นที่มีความท้าทาย เชื่อมโยง และมีความซับซ้อน เราตระหนักว่า การเปิดให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นวิธีที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง แนวความคิดหลากหลายมุมมองได้ถูกนำออกมาแบ่งปันที่เวทีอภิปรายนี่เอง ทำให้เรามีโอกาสในการปรึกษาหารือบนพื้นฐานความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคลและแบ่งปันความจริงว่า ทำไมป่าไม้ถึงมีความสำคัญ” ดร. เดวิด ก๊านซ์ ผู้อำนวยการบริหาร รีคอฟ ได้สะท้อนความคิดไว้

เวทีอภิปรายนี้จัดขึ้น 2 วันในกรุงเทพ ภายใต้ประเด็นหลัก 3 กระแส อันเป็นเหตุผลนำทางการอภิปรายในหัวข้อว่า ทำไมป่าไม้จึงมีความเชื่อมโยงเชิงซับซ้อนกับการใช้ชีวิตของเราในทุกวันนี้ ประเด็นหลักที่ใช้ในการนำอภิปรายประกอบด้วย ธรรมาภิบาลป่าไม้ ความเป็นผู้ประกอบการของสตรี และเธอกับฉัน ถือเป็นพื้นฐานความคิดการจัดฟอร์เรสต์ทอล์คซีรี่ย์ และการอภิปรายหมู่ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติจำนวน 25 ท่านด้วยกัน

นอกจากนี้ ประเด็นหลัก 3 กระแสนี้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเนื้อหาโดยรวมของงานอภิปรายที่ทางทีมงานต้องการสื่อออกมาให้เห็นว่า ทำไมการทำป่าไม้อย่างยั่งยืนจึงมีความสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ของพวกเราในทุกๆวัน
เมื่อถูกถามถึงเนื้อหาการอภิปรายว่า “เราไม่สามารถจัดพื้นที่ให้พลเมือง ผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลอื่นๆ จัดตั้งเครือข่าย และเสาะหาวิถีทางเลือกในการอนุรักษ์ป่าไม้ รวมถึงชีวิตของพวกเราได้” เดตตี้ ซาลูลิง ว่าที่ผู้จัดการด้านการสื่อสาร รีคอฟ ได้แสดงความคิดเห็นว่า “มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเชื่อมโยงการกระทำทุกวันของเรากับความจริงที่เข้าถึงยาก” 

ครั้งหนึ่งในฟอร์เรสต์ทอล์ค  อบิเกล สมิธ จาก Scholars of Sustenance Foundation ได้บอกความจริงที่น่าใจหายกับเราเกี่ยวกับขยะอาหารว่า “จำนวนอาหารที่โรงแรม 1 โรงต้องโยนทิ้งต่อวัน สามารถนำมาเลี้ยงอาหารกลางวันคนทั้งห้องนี้และให้คุณนำกลับบ้านได้อีกด้วย” หากถามว่า อาหารเหล่านี้มาจากไหน? อาหารเหล่านี้มาจากฟาร์มและพื้นที่ปลูกป่าทั่วประเทศไทย ภูมิภาค และจากทั่วโลก

ไม่บ่อยนักที่ผู้คนในเมืองมีโอกาสรับรู้ข้อมูลเบื้องลึกเกี่ยวกับการเดินทางของผลิตภัณฑ์จากป่าไม้จากแหล่งผลิตไปสู่เมือง ทางรีคอฟจึงใช้ “ความเป็นผู้ประกอบการของสตรี”  อันเป็นกระแสที่สองเป็นเครื่องมือในการตอบโจทก์เติมช่องว่าง กระบวนการเดินทางดังกล่าวซึ่งรวมถึงห่วงโซ่อุปทานอันซับซ้อน และภายใต้ภาพรวมที่เห็น บ่อยครั้งมีการก่อให้เกิดการละทิ้งชุมชนชายขอบให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษย์ซ่อนอยู่ เนื่องจากไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องการครอบครองที่ดินและการเข้าถึงทางการเงิน  การกระทำดังกล่าวนอกจากจะละเมิดสภาวะปกติของมนุษย์และการเมือง ยังเป็นภัยอันตรายต่อผลิตภัณฑ์อีกด้วย

สตรีและเสียงจากชุมชนชายขอบอื่นๆมีความสำคัญในการจัดการห่วงโซ่อุปทานให้ประสบความสำเร็จ  ชุดทักษะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่พวกเขานำมาเสนอจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ดังมีหลักฐานให้เห็นได้หลังจากฟอร์เรสต์ทอล์คและการอภิปรายหมู่ว่าด้วยเรื่องผู้ประกอบการสตรี ผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและเป็นเจ้าของธุรกิจท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จจากรุ่นสู่รุ่น ดูแลการทำมาหากินด้วยนวัตกรรมและวิธีการยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าโอกาสเหล่านี้จะคงอยู่ กฎหมายป่าไม้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำไปปฏิบัติและติดตามผลด้วยความยุติธรรมและเท่าเทียมกัน  Nguyen Thuy Hang ผู้เข้าร่วมอภิปรายจากกระแสหนึ่ง “ธรรมมาภิบาลป่าไม้” ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “ธรรมาภิบาลป่าไม้ที่ดีเป็นสิ่งที่เราต้องทำให้เกิดขึ้นก่อน เพื่อให้นำไปสู่ความมั่นคงทางการดำรงชีพ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสำหรับรุ่นต่อไป และการได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมจากป่าไม้”

และที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นที่มากพอในการดำเนินการและบังคับใช้กฎหมาย

“ธรรมาภิบาลป่าไม้เป็นสิ่งสำคัญหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ที่สามารถเชื่อถือได้” ดร.ก๊านซ์กล่าว “ข้อมูลเป็นพื้นฐานที่ต้องสร้างก่อน ก่อนที่นักการเมือง นักปฎิบัติ และพลเมืองจะนำไปสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพได้”

การเชื่อมโยงประเด็นหลัก 3 กระแสเข้าด้วยกันสร้างใจความหลักอย่าง “ป่าคือเรา: ทำไมป่าถึงสำคัญ” และได้ส่งคืนภาระความรับผิดชอบกลับไปให้กับผู้เข้าร่วมอภิปรายได้คิด ว่าเราจะส่งเสริมพฤติกรรมผู้บริโภคให้มีความรับผิดชอบโดยการสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาพื้นฐานอันก่อความเสียหายให้แก่ธรรมาภิบาลป่าไม้ ห่วงโซ่อุปทาน และการดำรงอยู่ของพวกเราได้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม ความรู้เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ดร.ก๊านซ์ ได้พูดไว้อย่างชัดเจนว่า “ตัวเลขสามารถอยู่ตรงนั้นได้ ข้อมูลสามารถบอกเรื่องราวได้ แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเราที่จะเปลี่ยนคำพูดให้เป็นการกระทำจริงได้หรือไม่ อย่างไร”